วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559



อาชีพไกด์.....


นิยามอาชีพ          นำนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มคณะเพื่อชม สถานที่ต่าง ๆ หรือทัศนาจรตามแผนการที่กำหนดไว้ หรือตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ดูแลอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกสบาย   เดินทางไปพร้อมกับนักท่องเที่ยวเพื่อนำชม และศึกษาสถานที่ต่างๆอธิบายเกี่ยวกับกฎระเบียบต่าง ๆ อธิบายจุดที่น่าสนใจทั้งหมดและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยว  ตอบคำถามของนักทัศนาจรและให้ข่าวสารหรือความรู้ อื่น ๆ ตามที่ต้องการ
ลักษณะของงานที่ทำ          ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ จะต้องศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นำเที่ยวรวมทั้งความรู้ด้านประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ จารีตประเพณี วัฒนธรรม  วางแผนกำหนดเส้นทาง จัดกำหนดการนำเที่ยวให้เหมาะสมกับฤดูกาล และระยะเวลาติดต่อสถานที่พักแรม หรือเตรียมอุปกรณ์เพื่อการพักแรมในสถานที่ที่จะนำเที่ยว นำนักท่องเที่ยวชมสถานที่  และบรรยายให้นักท่องเที่ยวได้ทราบความเป็นมาของสถานที่   และท้องถิ่นแหล่งธรรมชาติที่น่าชมและน่าสนใจภูมิประเทศ  ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม  จารีตประเพณี ความเป็นอยู่ของประชาชน จัดการ พักแรม  และดูแลให้ความสะดวกสบาย  ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในระหว่างการนำเที่ยวโดยพยายามจัดการให้บริการ ที่ต้องสร้างความพอใจ  และประทับใจให้กับกท่องเที่ยวทุกคนอย่างทั่วถึงและต้องมีจรรยาบรรณทาง วิชาชีพ
          อาชีพมัคคุเทศก์ จัดแบ่งออกเป็นกลุ่มตามกลุ่มของนักท่องเที่ยว คือ มัคคุเทศก์พาเที่ยวภายในประเทศ (Domestic) มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และมัคคุเทศก์นำเที่ยวชาวต่างประเทศ  (Inbound)  นอกจากนี้ยังแบ่งกลุ่มมัคคุเทศก์ตามลักษณะของการ  ท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์เดินป่า  มัคคุเทศก์ทางทะเล   มัคคุเทศก์ศิลป   วัฒนธรรม  เป็นต้น
สภาพการจ้างงาน           ผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนประจำ หรือ ค่าจ้างเป็นเที่ยวในการพานักท่องเที่ยวออกไปท่องเที่ยว   ซึ่งจะคิดค่าจ้างเป็นรายวันเฉลี่ยประมาณวันละ 1,500 - 3,000 บาท  และอาจจะได้รับค่าตอบแทนถึง  100,000  บาทเป็นค่านายหน้าจากบริษัท   หรือร้านที่นักทัศนาจรมาซื้อของที่ระลึก หรือเข้าชมการแสดงในสถานที่ท่องเที่ยว  ตามที่แต่ละแห่งได้ตั้งค่านายหน้าไว้
          ผู้ทำงานมัคคุเทศก์มีกำหนดเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน  ขึ้นอยู่กับโครงการ และแผนการนำเที่ยวซึ่งกำหนดไว้ในแต่ละรายการ  ผู้ปฏิบัติงานนี้จะต้องผ่านการอบรมวิชาชีพมัคคุเทศก์  และมีความรู้ภาษาต่างประเทศซึ่งสามารถใช้งานได้ดี
สภาพการทำงาน           มัคคุเทศก์  จะทำงานตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการนำเที่ยวมีระยะเวลาตั้งแต่  1 วัน ถึงสามหรือสี่สัปดาห์  และในขณะพานักท่องเที่ยวทัศนาจรต้องดูแลนักท่องเที่ยวตลอด    24 ชั่วโมง  นำนักทัศนาจรหรือ นักท่องเที่ยว  ตั้งแต่คนเดียวจนถึงเป็นกลุ่ม  หรือกลุ่มใหญ่ไปชมสถานที่ต่าง ๆ  ทั้งในเมืองและต่างจังหวัดตามที่กำหนดไว้ในแผนการนำเที่ยว การเดิทางอาจจะมีทั้งระยะใกล้  ไกล อาจใช้ยานพาหนะทุกประเภท อาจต้องนำเที่ยวในลักษณะผจญภัย  อย่างเช่น  ทัวร์ป่า  การเดินขึ้นเขา    การล่องแพ  การค้างแรมร่วมกับกลุ่มชนชาวพื้นเมือง  ขึ้นอยู่กับแผนการนำเที่ยว  และรูปแบบของการ ท่องเที่ยว
          มัคคุเทศก์จะต้องวางแผนติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ การบริการ การอำนวยความสะดวก  และการดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวตลอดเส้นทางรวมไปถึงการให้ ข้อมูลที่จำเป็นและให้คำแนะนำแก่นักท่องเที่ยวในการเตรียมตัวให้พร้อมก่อน ออกเดินทาง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของการท่องเที่ยว ตลอดจนตอบข้อซักถามให้คำแนะนำในระหว่างการเดินทางรวมทั้งต้องทำกิจกรรมเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ร่วมเดินทางทุกคนได้รับความสนุกสนานประทับใจในบางครั้งอาจจะต้องจัดกิจกรรม หรือให้บริการที่สร้างความพอใจให้กับนักท่องเที่ยวตามจุดประสงค์ที่นักท่อง เที่ยวต้องการภายในระยะเวลาที่กำหนด  และพร้อมที่จะแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวได้ตลอด  24  ชั่วโมง  บางครั้งมัคคุเทศก์จะต้องทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันต้องใช้ความอด ทน  และอดกลั้นสูง ดังนั้น ความพร้อมและความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย  และจิตใจจึงมีความสำคัญมาก เพราะนักท่องเที่ยวมีอัธยาศัย  และพื้นฐานความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เมื่อมารวมกลุ่มกันจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างบรรยากาศให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ ด้วยดี อีกทั้งได้รับความสุขความปลอดภัยในชีวิต  และทรัพย์สินด้วย มัคคุเทศก์จึงเปรียบเสมือนตัวแทนของท้องถิ่น และประเทศนั้น ๆ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 
1. พูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย คือ ภาษาอังกฤษ
2. มีความรู้ทั่วไป  และเป็นผู้ที่ขวนขวายหาความรู้สม่ำเสมอ
3. รักการเดินทางท่องเที่ยว และงานบริการ  ปรับตัวได้  และเป็นนักแก้ไขปัญหาได้ดีในทุกสถานการณ์
4. มีความยืดหยุ่น  ประนีประนอม  และมีลักษณะอบอุ่นโอบอ้อมอารีเป็นที่ไว้วางใจของผู้เดินทางร่วมไปด้วย
5. มีความเป็นผู้นำ  มีความกล้า  มีความรอบคอบและไม่ประมาท
6. ทัศนะคติดี  ร่าเริง  มีความเสียสละซื่อสัตย์  ซื่อตรง  และอดทน
7. สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบและปฏิภาณดี
8. มีความคิดสร้างสรรค์   มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
9. เป็นนักสื่อสารที่ดี รักการอธิบาย และการบรรยายความรู้ต่าง ๆ
10. เป็นนักจัดเก็บข้อมูลที่ดีทั้งข้อมูลการท่องเที่ยว ความนิยมของลูกค้า และรายชื่อลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว

การเลือกคณะและมหาลัยในการศึกษาต่อ
 สามารถเข้าศีกษาต่อได้ในมหาลัยทั้งทางรัฐและเอกชนโดยการเลือกเรียนในคณะต่อไปนี้
มหาลัยต่างๆ ที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี สำหรับการจออกมาเป็นมัคคุเทศก์โดยตรง หรืออาจเรียนในสาขาที่ใกล้เคียงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ และไปสอบเป็น มัคคุเทศก์ได้ภายหลัง เช่น

           คณะโบราณคดี สาขาวิชาโทมัคคุเทศก์ คณะศิลปศาตร์ เอกการท่องเที่ยว คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว  เรียนนิเทศฯ การโรงแรมที่เรียนเป็นภาคภาษาอังกฤษ เป็นต้น


ตัวอย่างหลักสูตรที่สอนด้านนี้
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว 
จุดเด่นของหลักสูตร
 
           ความหลากหลายทางภาษาบวกกับความรู้ทางวิชาชีพคือหัวใจสำคัญของหลักสูตรนี้ โดยเน้นความรู้ด้านการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ๆที่เป็นแนวโน้มสำคัญในอนาคตแต่ ในขณะเดียวกันก็ ไม่ทิ้งรูปแบบของการท่องเที่ยวแบบมาตรฐานที่เป็นตลาดมวลชน ผู้สำเร็จการศึกษาทุกคนสามารถขอรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมัคคุเทศก์ภาษาต่างประเทศจากหน่วยงานของรัฐได้

ปรัชญาของหลักสูตร 
           ประเทศไทยมีนโยบายในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มความมั่นคง ให้แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการจัดการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรจากสถาบันการศึกษาจากทั้งภาค รัฐและภาคเอกชน เพื่อให้แรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยมีคุณภาพและมีมาตรฐานเทียบเท่า กับระดับสากล ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยเข้าสู่การแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ จนเป็นผู้นำทางการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาค ตามเป้าหมายที่จะเป็น Tourism Capital of Asia 

           หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว จึงใช้หลักการบูรณาการสาขาวิชาจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎ ีควบคู่กับการฝึกปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย และปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง เพื่อให้บัณฑิต มีความรู้ความสามารถสูงทางวิชาชีพ มีทักษะและความพร้อมในการปฏิบัติงานในภาคธุรกิจ ตลอดจนมีทักษะทาง ภาษาต่างประเทศที่เพียงพอในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และสามารถทำงานในสถานประกอบการระหว่างประเทศได้ 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
           • เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทางวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว ทักษะทางภาษาและการใช้เทคโนโลยี เป็นอย่างดี 
           • เพื่อ ผลิตบัณฑิตให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นทั้งผู้ให้บริการและผู้บริหารระดับกลาง ในธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นอย่างดี 
           • เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ สามารถใช้เหตุผลและวิจารณญาณอันถูกต้อง 
           • เพื่อสร้างพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

แนวทางการประกอบอาชีพ
           • สามารถ ประกอบอาชีพได้ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น บริษัทนำเที่ยว ตัวแทนการท่องเที่ยว ศูนย์รับจองที่พักและตั๋วเครื่องบิน ธุรกิจเรือท่องเที่ยว ธุรกิจการจำหน่ายของที่ระลึก มัคคุเทศก์อิสระ การจัดนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษ หรือการเป็นพนักงานในแผนกที่ต้องจัดการการ เดินทางของพนักงานในบริษัทข้ามชาติต่างๆ รวมทั้งการทำงานในธุรกิจบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ การให้คำปรึกษาแก่นักท่องเที่ยวและผู้เดินทาง 
           • สามารถ ประกอบอาชีพได้ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษา และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เช่น องค์กรส่วนท้องถิ่น องค์กรอิสระต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ผู้สื่อข่าวการท่องเที่ยว วารสารด้านการท่องเที่ยว วนอุทยาน หรือการบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ  
           • สามารถ ประกอบอาชีพได้ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการศูนย์การประชุมและการแสดง สินค้า บริษัทที่ปรึกษาการจัดงาน บริษัทรับจัดการประชุมและการแสดงสินค้านานาชาติ เป็นต้น 
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น